สรุปบทที่4
เรื่อง นิพจน์และตัวดำเนินการ
นิพจน์ (Expression)
นิพจน์ในที่นี้หมายถึง นิพจน์์ทาง คณิตศาสตร์ ซึ่งสามารถพบเห็นได้จากสูตรการคำนวณตัวเลขต่างๆ ดังนั้น นิพจน์
จึงประกอบด้วย ตัวแปร ค่าคงที่ และตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์มาประกอบรวมกัน
จากนิพจน์คณิตศาสตร์ข้างต้น พบว่า ทั้ง and, score และ income จะเป็นตัวแปรที่ใช้เก็บผลลัพธ์จากก คำนวณ ส่วนนิพจน์ด้านขวาก็จะเป็นนิพจน์
แบบหลายตัวแปร ซึ่งสามารถมีได้ทั้งตัวแปรและค่าคงที่ รวมถึงตัวดำเนินการคณิตศาสตร์ เช่น + - * / เป็นต้น ในการสร้างสูตรคำนวณค่าตัวเลข โดยเฉพาะสูตรคำนวณที่มีความซับซ้อน ต้องระมัดระวังในการจัด
ลำดับนิพจน์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์
ประมวลผลอย่างถูกต้อง ทั้งนี้
ตัวดำเนินการต่างๆ ที่นำมาใช้เพื่อการคำนวณนั้น แต่ละตัวจะมีลำดับความสำคัญที่แตกต่างกัน
ตัวดำเนินการ (Operators)
ในภาษาซี มีตัวดำเนินการหลากหลายชนิด แต่ในที่นี้กล่าวถึงตัวดำเนินการพื้น
ฐานที่สำคัญ ดังต่อไปนี้
1. ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์
2. ตัวดำเนินการยูนารี
3. ตัวดำเนินการเปรียบเทียบ
4. ตัวดำเนินการตรรกะ
5. ตัวดำเนินการกำหนดค่า
แบบผสม
6. ตัวดำเนินการเงื่อนไข
1. ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์
จัดเป็นตัวดำเนินการพื้นฐาน ที่นำมาใช้เพื่อการคำนวณ เช่น บวก ลบ คูณ หาญ และ โมดูลัส (หาญเพื่อเอาเศษ)
2. ตัวดำเนินการยูนารี
ตัวดำเนินการยูนารี ตัวแรกที่กล่าวถึง คือ เครื่องหมายลบ ที่นำมาใช้นำหน้าค่าตัวเลข หรือนำหน้า ค่าตัวแปร ซึ่งจะส่งผลให้ค่าถูกเปลี่ยนเป็นค่าติดลบโดยทันที
3. ตัวดำเนินการเปรียบเทียบ
ในภาษาซีจะมีตัวกำเนินการที่นำมาใช้เพื่อการเปรียบเทียบค่า
4. ตัวดำเนินตรรกะ
นอกจากตัวดำเนินการเปรียบเทียบแล้ว เรายังสามารถนำตัวดำเนินการตรรกะมาใช้ร่วมกันได้
5. ตัวดำเนินการกำหนดค่า
แบบผสมจากความรู้ที่ผ่านมาได้เรียนรู้ถึงการกำหนดค่าให้กับตัวแปรมาบ้างแล้ว แต่ในภาษาซียังมีตัวดำเนินการกำหนดค่าแบบผสม (Compound Assignment Operators)
6. ตัวดำเนินการเงื่อนไข
ตัวดำเนินการเงื่อนไข จะนำมาทดสอบค่านิพจน์ทางตรรกะ ว่าจริงหรือเท็จ
>>ตัวดำเนินการกับลำดับความสำคัญ<<
ตัวดำเนินการแต่ละตัวจะมีลำดับความสำคัญก่อนหลังที่แตกต่างกัน โดยการประมวลผลกระทำจากตัวดำเนินการที่มีลำดับความสำคัญสูงก่อน แต่ถ้ากรณีที่มีลำดับความสำคัญเท่ากัน ตามปกติจะกระทำกับตัวดำเนินการจากซ้ายไปขวา กล่าวคือ จะกระทำกับตัวดำเนินการ ที่พบก่อน
>>การเปลี่ยนชนิดข้อมูล<<
ในภาษา C ยังมีตัวดำเนินการที่ เรียกว่า การแคสต์ (Casting) เพื่อแปลงชนิดข้อมูลจากชนิดหนึ่ง มาเป็นอีกชนิดหนึ่งได้ วิธีทำคือ ให้ระบุชนิดข้อมูลที่ต้องการภายใน เครื่องหมายวงเล็บ หน้านิพจน์ที่ ต้องการ
No comments:
Post a Comment