Monday, December 26, 2016

สรุปบทที่5 ฟังก์ชันการรับและแสดงผลและฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์

สรุปบทที่5
ฟังก์ชันการรับและแสดงผลและฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์
       
ฟังก์ชัน printf() เป็นฟังก์ชันที่ใช้สำหรับแสดงผลข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ ข้อความ หรือค่าแปร        ฟังก์ชัน scanf() เป็นฟังก์ชันที่ใช้สำหรับรับค่าข้อมูลจากทางแป้นพิมพ์ เพื่อจัดเก็บไว้ในตัวแปรทั้งฟังก์ชัน printf()และscanf() จะต้องกำหนดรหัสรูปแบบข้อมูลให้สัมพันธ์กับชนิดข้อมูลของตัวแปร ซึ่งรายละเอียดดังนี้


       ฟังก์ชัน getchar() เป็นฟังก์ชันที่นำมาสำหรับค่าตัวอักษรหรืออักขระ 1 ตัว โดยค่าที่ป้อนลงไป จะแสดงให้เห็นทางจอภาพ และจะต้องเคาะ Enter เพื่อแสดงถึงการสิ้นสุดการป้อนข้อมูล        ฟังก์ชัน putchar() เป็นฟังก์ชันที่นำมาใช้เพื่อพิมพ์ค่าตัวแปรอักขระ ที่ถูกป้อนด้วยฟังก์ชัน getchar() รวมถึงการสั่งพิมพ์รหัสพิเศษ (Escape Sequence)
ในบางครั้ง รหัส Enter ที่เราได้เคาะเข้าไปเพื่อยืนยันการป้อนข้อมูลจากฟังก์ชัน scanf() ได้ข้ำแรบกวนการทำงานของคำสั่งบางตัว มำให้ข้ามการรับค่าตัวแปรตัดถัดไปซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวสามารถแก้ไขได้ด้วยการเคลียร์ บัฟเฟอร์ในหน่วยความจำออกไปเสียก่อนด้วยฟังก์ชัน fflush(stdin)       ฟังก์ชัน getch() ใช้สำหรับรอรับค่าแป้นพิมพ์โดยไม่ต้องยืนยันด้วยการเคาะปุ่ม Enterและอักขระที่ป้อนเข้าไป จะไม่แสดงออกมาให้เห็นทางจอภาพ        ฟังก์ชัน getche() จะคล้ายกับฟังก์ชัน getch() แตกต่างกันเพียงแสดงอักขระที่ป้อนเข้าไปออกมาให้เห็นทางจอภาพ        ฟังก์ชัน clrscr() เป็นฟังก์ชันที่ใช้สำหรับล้างจอภาพ        ฟังก์ชัน gotoxy() เป็นฟังก์ชันที่ใช้สำหรับกำหนดตำแหน่งเคอร์เซอร์บนจอภาพ บนหน้าจอแบบเท็กซ์โหมด ทั้งฟังก์ชัน printf(), scanf(), getchar() และ putchar() จะถูกประกาศใช้งานอยู่ใน
เฮดเดอร์ไฟล์<stdio.h>
 ทั้งฟังก์ชัน getch(), getche(), clrscr() และ gotoxy() จะถูกประกาศใช้งานอยู่ในเฮดเดอร์ไฟล์<conio.h>
ทั้งฟังก์ชัน pow(), sqrt(), cos(), sine(), tan(), ceil() และ floor() เป็นต้นจะถูกประกาศใช้งานอยู่ในเฮดเดอร์ไฟล์<math.h>คำสั่งในภาษาซี ล้วนอยู่ในรูปแบบของฟังก์ชั่นทั้งสิ้น ซึ่งอาจเป็นฟังก์ชั่นมาตรฐาน ที่ภาษาซีได้จัดเตรียมไว้ให้แล้ว นอกจากนี้ ก็ยังมีฟังก์ชั่น  ที่เราสามารถเขียนขึ้น เพื่อใช้งานเองตัวอย่างฟังก์ชั่นที่ภาษาซี จัดเตรียมมาให้ เช่น ฟังก์ชั่น printf() ที่นำมาใช้เพื่อสั่งพิมพ์ข้อมูลเพื่อ แสดงผ่านทางจอภาพ หรือกรณี ต้องการรับค่าข้อมูลทางแป้นพิมพ์ ก็ต้องใช้ฟังก์ชั่น scant() เป็นต้น ที้งนี้การเรียกใช้ฟังก์ชั่นดังกล่าว จำเป็นต้องรู้ถึงรูปแบบการเขียน (Syntax) รวมถึงต้องรู้ด้วยว่าฟังก์ชั่นที่ใช้งาน เหล่านี้ ประกาศใช้อยู่ในเฮดเดอร์ไฟล์ใด นอกจากฟังก์ชั่นทั้งสองแล้ว ภาษาซีก็ยังมีฟังก์ชันอื่นๆ ที่สามารถรำมาใช้เพื่อการแสดงผลข้อมูลและการรับผลข้อมูล

ฟังก์ชั่นการรับและแสดงผลข้อมูล
   ในภาษาซี ได้เตรียมฟังก์ชั่นเพื่อการรับและแสดงผลข้อมูลอยู่ หลายคำสั่งด้วยกัน ซึ่งสามารถนำมาเรียกใช้งานตามความเหมาะสม   1. ฟังก์ชั่น printf     เป็นฟั่งชั่นที่ใช้สำหรับแสดงผล   ข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ ข้อความ หรือค่าตัวแปร โดยที่ formatControlString  คือรูปแบบที่ นำมาใช้สำหรับควบคุมการพิมพ์ รวมถึงข้อความที่ต้องการสั่งพิมพ์ ซึ่งจะต้องอยู่ภายในเครื่องหมาย " "   Printf  คือตัวแปรที่นำมาพิมพ์ ซึ่งจะจับคู่กับ formatControlString ที่สัมพันธ์กันอย่างถูกต้องใส่รูป   นอกจากนี้แล้ว ยังสามารถผนวกรหัสควบคุม (Escape Sequence) เข้าไปใน FormatControlString ได้อีก ซึ่งรหัสควบคุมเหล่านี้ จะเขียนด้วยเครื่องหมาย และตามด้วยรหัสควบคุม ทั้งนี้ต้องระมัดระวังในเรื่องของการจับคู่ระหว่างรหัสรูปแบบขัอมูล ที่ต้องตรงกับชนิดตัวแปรสั่งพิมพ์

2. ฟังก์ชั่น Scanf()
    เป็นฟังก์ชั่นที่ใช้สำหรับรับค่าข้อมูลจากทางแป้นพิมพ์ เพื่อจัดเก็บไว้ในตัวแปร   นอกจากนี้ ในการรับข้อมูลทางแป้นพิมพ์ด้วยฟังก์ชั่น scanf() จะต้องพิจารณาสิ่งต่อไปนี้   1. ถ้าข้อมูลที่รับ เป็นชนิดตัวเลข ซึ่งนำไปใช้ในการคำนวณได้ จะต้องใส่เครื่องหมาย นำหน้าตัวแปรเสมอ   2. ถ้าข้อมูลที่รับ เป็นข้อความ อาจไม่ต้องใส่เครื่องหมาย นำหน้าตัวแปรก็ได้
3. ฟังก์ชั่น getchar()   เป็นฟังก์ชั่นที่นำมาสำหรับรับค่าตัวอักษรหรืออักขระ 1 ตัว โดยค่าที่ป้อนลงไปจะแสดงให้เห็นทางจอภาพ และจะต้องเคาะ Enter เพื่อแสดงถึงการสิ้นสุดการป้อน
   ข้อมูลด้วย กรณีที่มีการกรอกตัวอักษรมากกว่า 1 ตัว จะมีเพียงอักษรตัวแรกเท่านั้น ที่จะถูกจัดเก็บไว้ในตัวแปร    4. ฟังก์ชั่น putchar()    เป็นฟังก์ชั่นที่ถูกนำมาใช้เพื่อสั่งพิมพ์ค่าตัวแปรอักขระที่ถูกป้อนด้วย getchar() หรือนำมาพิมพ์หัสพิเศษได้



No comments:

Post a Comment